ประวัติสำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร

สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร ตั้งอยู่เลขที่ 1859/25 ถ.ศูนย์ราชการ ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร ในเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน ทิศตะวันตกติดถนนศูนย์ราชการ ตรงข้ามสำนักงานเกษตรอำเภอเมือง(ใหม่) ทิศใต้จรดสำนักงานเกษตรอำเภอเมือง(เดิม) ทิศตะวันออกติดถนนรัฐบำรุง ทิศเหนือติดกับสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดสกลนคร

เดิมสำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร มีที่ทำการอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดสกลนคร (หลังเก่า) ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงมหาดไทยได้อนุญาตให้กรมส่งเสริมการเกษตรใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณประโยชน์ ในตำบลธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร จำนวน 5 ไร่ 2 งาน และกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อสร้างอาคารที่ทำการ โรงเก็บวัสดุ พร้อมบ้านพักข้าราชการ ในปลายปี พ.ศ. 2521 อาคารเลขที่ 1859/25 ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร ถึงปัจจุบันนี้ 

เกษตรกรมีความรู้ มีทักษะด้านการผลิตการเกษตร องค์กรเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกรเข้มแข็งช่วยเหลือตนเองได้อย่างยั่งยืน

มุ่งมั่นพัฒนาสินค้า บริการ ทีมงานหนึ่งเดียว เชี่ยวชาญทุกระดับ ยึดมั่นคุณธรรม นำการเปลี่ยนแปลง
 

1. ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร องค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และเครือข่าย ให้มีความเข้มแข็ง สามารถผลิตสินค้า บริการ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาดพึ่งพาตนเองได้

2. ให้บริการด้านวิชาการ ข้อมูล ข่าวสาร ส่งเสริมอาชีพ ให้ความช่วยเหลือ แก้ปัญหาด้านการเกษตรแก่เกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร องค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และครือข่าย

3. ศึกษา วิจัย จัดเก็บ รวบรวม จัดทำสถิติข้อมูล เพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร

บทบาท ภารกิจ สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร

บทบาทหน้าที่ของสำนักงานเกษตรจังหวัด

แบ่งงานภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 4 กลุ่ม ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ ดังนี้

# ฝ่ายบริหาร

  1. ปฏิบัติงานด้านงานธุรการ งานสารบรรณ งานพิมพ์และแจกจ่ายเอกสาร และการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงินและบัญชี พัสดุ งานดูแลอาคารสถานที่และยานพาหนะ
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคล
  4. บริหารจัดการงบประมาณประจำปี และควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมของหน่วยงาน
  6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

# กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ

  1. ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรด้านการ
    ผลิตพืช การพัฒนาอาชีพของเกษตรกร และส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เพื่อผนวกเป็นแผนพัฒนาจังหวัดของผู้ว่าราชการจังหวัด และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในจังหวัด
  2. พัฒนาสารสนเทศระดับจังหวัด รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การปลูกพืชผลผลิต
    การเกษตรวิสาหกิจชุมชน และข้อมูลมือสองอื่น ๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรในระบบสารสนเทศ
  3. ศึกษา พัฒนาวิธีการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ปรับปรุงกระบวนการ
    ทำงานในพื้นที่ พัฒนาบุคลากรและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาในจังหวัด
  4. สนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และส่งเสริม
    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนของชุมชน
  5. สนับสนุนสำนักงานเกษตรอำเภอในการจัดทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมการเกษตร และ
    การจัดทำข้อมูลสารสนเทศระดับอำเภอ
  6. ติดตามประเมินผลรวบรวมและรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของสำนักงานเกษตรจังหวัด
  7. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

# กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร

  1. ศึกษาพัฒนาการวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนของชุมชน องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
  3. ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
  4. ส่งเสริม สนับสนุนและประสานการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน
  5. สนับสนุนการดำเนินงานการพัฒนาเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ ในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
  6. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนภายในจังหวัด
  7. ประสานและดำเนินงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือเกษตรผู้ประสบภัยธรรมชาติ
  8. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

# กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต

  1. ศึกษา พัฒนาและวางแผนการส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิตการเกษตร
  2. ศึกษา พัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและจัดการผลผลิตการเกษตรที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
  3. ดำเนินการส่งเสริมและประสานถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต การจัดการผลผลิตและการให้บริการทางการเกษตร
  4. ดำเนินการตามแผนงาน โครงการมาตรการด้านการส่งเสริมการผลิต การจัดการผลผลิตและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ประสานการแก้ไขปัญหาการผลิตของเกษตรกร ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
  5. ประสานการดำเนินงานโครงการพระราชดำริฯ และโครงการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่เฉพาะ
  6. สนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการผลิตและการจัดการผลิตและการจัดการผลผลิต
  7. ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการส่งเสริมการผลิตและจัดกรผลผลิตในจังหวัด
  8. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

# กลุ่มอารักขาพืช

  1. ศึกษา วิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงานด้านการอารักขาพืชในจังหวัดและดำเนินการ
    ตามแผนงานโครงการและมาตรการด้านการอารักขาพืช
  2. สำรวจ ติดตาม เฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของศัตรูพืช
  3. ศึกษา พัฒนา รูปแบบและวิธีการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และถ่ายทอดเทคโนโลยีการอารักขาพืช ให้กับเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ และเกษตรกร
  4. ให้บริการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและให้คำปรึกษาแนะนำด้านเทคโนโลยีการอารักขาพืช
  5. ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานด้านการอารักขาพืชในจังหวัด
  6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย